นักดาราศาสตร์ทั่วโลกกำลังจับตาปรากฏการณ์ “พายุสุริยะ” ครั้งสำคัญที่คาดว่าจะเฉี่ยวโลกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2568 หลังดวงอาทิตย์เกิดการปะทุเปลวสุริยะขนาดใหญ่ถึง 2 ครั้งติดกัน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มจุดมืดหมายเลข AR4087 ซึ่งปล่อยแฟลร์ระดับ X2.7 นับว่าเป็นการปะทุที่รุนแรงที่สุดของปี (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); หนึ่งในภาพที่น่าทึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนี้คือการพุ่งออกของเส้นใยสุริยะจากขั้วเหนือของดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้าย “ปีกนกไฟ” หรือ Angel-wing eruption มีความยาวกว่า 1 ล้านกิโลเมตร ซึ่งยาวกว่าระยะทางจากโลกไปยังดวงจันทร์ถึงสองเท่า เส้นใยบางส่วนกำลังมุ่งหน้าเฉี่ยวโลก และคาดว่าอาจก่อให้เกิดพายุแม่เหล็กโลกในระดับอ่อนถึงปานกลาง (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); นายชอว์น ดาล นักพยากรณ์จากศูนย์พยากรณ์อากาศอวกาศแห่งสหรัฐฯ (NOAA) ระบุว่า หนึ่งในเปลวสุริยะที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้สัญญาณคลื่นวิทยุ HF (high frequency) ในพื้นที่ตะวันออกกลางขัดข้องนานราว 10 นาที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพลังงานสุริยะที่ปล่อยออกมา แม้พายุแม่เหล็กที่อาจเกิดขึ้นจะไม่ได้อยู่ในระดับอันตรายต่อชีวิตประจำวัน แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าอาจมีผลกระทบต่อระบบดาวเทียม ระบบ GPS และการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุในบางช่วงเวลา ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายต่อโครงข่ายไฟฟ้าหรือระบบดาวเทียม แต่ผลกระทบอาจลากยาวไปอีก 2–3 วัน (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); นักวิทยาศาสตร์ยังยืนยันว่า การปะทุรุนแรงในช่วงนี้เป็นสัญญาณว่าดวงอาทิตย์กำลังก้าวเข้าสู่ “Solar Maximum” หรือช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆ 11 ปี และมีแนวโน้มจะมีพายุสุริยะบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นในช่วงนี้ (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

นักดาราศาสตร์ทั่วโลกกำลังจับตาปรากฏการณ์ “พายุสุริยะ” ครั้งสำคัญที่คาดว่าจะเฉี่ยวโลกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2568 หลังดวงอาทิตย์เกิดการปะทุเปลวสุริยะขนาดใหญ่ถึง 2 ครั้งติดกัน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มจุดมืดหมายเลข AR4087 ซึ่งปล่อยแฟลร์ระดับ X2.7 นับว่าเป็นการปะทุที่รุนแรงที่สุดของปี

เปิดรูปภาพ

หนึ่งในภาพที่น่าทึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนี้คือการพุ่งออกของเส้นใยสุริยะจากขั้วเหนือของดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้าย “ปีกนกไฟ” หรือ Angel-wing eruption มีความยาวกว่า 1 ล้านกิโลเมตร ซึ่งยาวกว่าระยะทางจากโลกไปยังดวงจันทร์ถึงสองเท่า เส้นใยบางส่วนกำลังมุ่งหน้าเฉี่ยวโลก และคาดว่าอาจก่อให้เกิดพายุแม่เหล็กโลกในระดับอ่อนถึงปานกลาง

เปิดรูปภาพ

นายชอว์น ดาล นักพยากรณ์จากศูนย์พยากรณ์อากาศอวกาศแห่งสหรัฐฯ (NOAA) ระบุว่า หนึ่งในเปลวสุริยะที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้สัญญาณคลื่นวิทยุ HF (high frequency) ในพื้นที่ตะวันออกกลางขัดข้องนานราว 10 นาที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพลังงานสุริยะที่ปล่อยออกมา

เปิดรูปภาพ

แม้พายุแม่เหล็กที่อาจเกิดขึ้นจะไม่ได้อยู่ในระดับอันตรายต่อชีวิตประจำวัน แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าอาจมีผลกระทบต่อระบบดาวเทียม ระบบ GPS และการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุในบางช่วงเวลา ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายต่อโครงข่ายไฟฟ้าหรือระบบดาวเทียม แต่ผลกระทบอาจลากยาวไปอีก 2–3 วัน

เปิดรูปภาพ

นักวิทยาศาสตร์ยังยืนยันว่า การปะทุรุนแรงในช่วงนี้เป็นสัญญาณว่าดวงอาทิตย์กำลังก้าวเข้าสู่ “Solar Maximum” หรือช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆ 11 ปี และมีแนวโน้มจะมีพายุสุริยะบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นในช่วงนี้

เปิดรูปภาพ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *